Saturday, February 20, 2010

ตำแหน่งบนลูกปิงปองและจังหวะการกระดอน

ลูกปิงปอง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 40 มิลลิเมตร และน้ำหนักของลูกซึ่งหนักเพียง 2.7 กรัม จึงทำให้ลูกปิงปองมีขนาดเล็กที่สุดและน้ำหนักน้อยที่สุด
เมื่อเทียบกับลูกบอลในกีฬาชนิดอื่นๆ และรวมไปถึงความเร็วของลูกที่เคลื่อนที่จึงทำให้เวลาในการตัดสินใจมีน้อยมาก




ตำแหน่งบนลูกปิงปอง

เพื่อที่จะตัดสินใจในการตีลูกปิงปองกลับไปจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับตำแหน่งที่สำคัญบนลูกปิงปองแบ่งออกเป็น 3 ตำแหน่ง ดังนี้คือ

1.ส่วนหัวลูก

2.ส่วนกลางลูก

3.ส่วนใต้ลูก


A คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปองกำลังลอยขึ้นตำแหน่ง

B คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปองลอยขึ้นสูงสุดตำแหน่ง

C คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปองกำลังลอยลงตำแหน่ง

D คือ ตำแหน่งที่ลูกปิงปองกำลังลอยลงต่ำกว่าโต๊ะปิงปอง

สำหรับการเลือกตำแหน่งในการตีลูกปิงปองนั้น ผู้ที่หัดเล่นปิงปองใหม่

ลูก Fore hand และ Back hand ควรตีตำแหน่ง A - C

ลูก Top spin ทั้งด้าน Fore hand และ Back hand ควรตีตำแหน่งหลังตำแหน่ง B ลงไป

ลูก Back spin (ลูกตัด) ทั้งด้าน Fore hand และ Back hand ควรตีตำแหน่ง C

ลูก Bock ทั้งด้าน Fore hand และ Back hand ควรตีตำแหน่ง A - B

และเมื่อเกิดความชำนาญแล้ว จุดตีในแต่ละลูกควรจะเปลี่ยนแปลงโดยเน้นการตีให้เร็วยิ่งขึ้น เช่น เคยตีลูก Fore hand top spin ในตำแหน่ง D ให้เปลี่ยนไปตีตำแหน่ง C และ B ตามลำดับ ฯลฯ