Sunday, March 7, 2010

กลไกลของการส่งแรงปะทะตีลูกเทเบิลเทนนิส

ความคิดรวบยอดพื้นฐานของการเล่นเทเบิลเทนนิส คือ ความพยายามที่ผู้เล่นต้องการตีกระทบลูกบอลให้กระดินพื้นโต๊ะ ในแดนของคู่ต่อสู้ในรูปแบบลักษณะต่างๆ เพื่อมิให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถรับและตอบโต้กลับมาหาตนเองได้ หลักกลศาสตร์ของแรงในการส่งแรงปะทะจึงเป็นเรื่องราวทีผู้เล่นควรจะได้ศึกษาไว้


1.การฝึกการสร้างแรงตีลูกบอล(Force Producion)

2.การหมุนลำตัวและการถ่ายแรง(Rotation and Trasfer of Weight)

3.การทำงานของแขน

4.การใช้แรงที่มีอยู่ในลูกบอล

5.การกำหนดแรงตีลูกบอลจากลูกกระดอน

6.โมเมนตัมของแรงจากการเหวี่ยงตีและจุดปะทะของไม้แร็กเกต

7.มุมหน้าไม้ที่สัมผัสกับมุมผิวลูกบอล(Bat Angle)



1.การฝึกการสร้างแรงตีลูกบอล (Force Production)การฝึกควบคุมขนาดแรงเป็นพื้นฐานสำคัญของการเล่นเทเบิลเทนนิสที่ผู้เล่นจะต้องฝึก รับลูกและตีกลับไป (Return Hit) ด้วยความแรงสม่ำเสมอหลังจากตีลูกเข้าผนังหรือโต้ลูกบอลกลับไปกลับมาการจะตีลูกได้หนักหน่วงเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ

- การเหวี่ยงแขน(Arm Swing)

- ท่าทางของร่างกาย(Body Action) ซึ่งรวมทั้งมุมของร่างกาย การย่อ และเหยียดลำตัว ไหล่และการเคลื่อนไหวของเท้า(Foot -Work) ด้วย

- จังหวะ(Timing or Rhythm)

การสร้างจังหวะและการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา จะทำให้การตีลูกได้แรง ลูกบอลจะเคลื่อนไปกระทบเป้าในลักษณะสวยงาม(Smooth ) วางลูกได้อย่างแม่นยำ เพราะมุมการตีถูกต้อง ลูกบอลกระทบจุดกลางของแร็กเกต ก่อนเคลื่อนที่ออกไป

ท่าทางของร่างกาย (Body Action) หรือ (Body Rotation) คือลักษณะของแขนที่ไม่เกร็งแข็ง หันข้างเข้าเน็ท (Full Pivot) เท้าก้าวเข้าหาลูกบอล ร่างกายไม่โอนเอนมีการทรงตัวดี ลำตัวอ่อนโค้งมีมุม เหวี่ยงตีลูกบอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สายตามองดูลูกบอลและจุดที่ลูกบอลตกกระทบ

2.การหมุนลำตัวและการถ่ายแรง(Rotation and Transfer of Weight)การหมุนตัว(สร้างมุม) และการก้างเท้าเพื่อสร้างแรงส่งจากเท้าหลังมาสู่เท้าหน้า จะทำให้การตีลูกได้แรงและแม่นยำได้ระยะทางมากขึ้นดังนั้น ทุกครั้งที่ตีลูกไม่ว่าจะเป็นลูกแบบไหน แรงสะบัดของสะโพก(Hip) จะเป็นแรงสุดท้ายช่วยส่งลูกบอลไปตามแรงเหวี่ยงตีและทิศทางของการตีด้วย

การถ่ายแรงจากเท้าหลังมาเท้าหน้า แรงส่งจากสะโพก แรงกระแทกจากส่วนบนของไหล่เป็นการทำงานผสมผสานประกอบกันเป็นจังหวะทำให้ขนาดของแรงเหมาะสม การเหวี่ยงไม้ตีลูกจะเป็นลักษณะโค้ง(Strok-ing Arc) ทำให้มีมุมการตีกว้างขึ้น ตีได้หลายแบบและง่ายต่อการควบคุมวิถีของลูกบอล

ด้วยเหตุนี้การเคลื่อนไหวของลำตัวและการส่งแรงผ่าน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้เล่นต้องปรับอยู่เสมอ เพราะจะมีส่วนช่วยให้การตีมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3.การทำงานของแขนต่อเนื่องกันเพื่อบังคับลูกและส่งแรงปะทะ(Arm Action Continues to Relay the Power)แขนจะทำงานได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการหมุนของลำตัวและการถ่ายแรงผ่าน เพราะลำตัวนั้นเป็นเหมือนแกน(Lever) ถ้าลำตัวโน้มหรือหมุนไปทางที่จะตีลูกบอลแขนก็จะเหยียดได้ยาวขึ้น ตำแหน่งของแร็กเกตจะไม่เหยียดออก ทำให้ความเร็วในการตีลูกบอลเพิ่มขึ้น ลักษณะเช่นนี้ผู้เล่นใหม่ๆ จะต้องฝึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเล่นให้สูงขึ้น

4.การใช้แรงที่มีอยู่ในลูกบอลให้เป็นประโยชน์ในการตีลูกบอล(Utilization of Force)มีผู้เล่นเป็นจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าการตีลูกบอลให้แรงนั้นคือการโหมแรงของตัวเองตีลูกบอลให้แรงที่สุดทุกครั้ง ซึ่งความจริงแล้วไม่จำเป็นเสมอไป ในการตีลูกกลับ(Return Hit) หรือตีลูกบอลกระทบฝาผนังนั้นบางครั้งใช้แรงกระดอนที่มีอยู่ในลูกบอลนั้นเป็นแรงปะทะส่งแรงสะท้อนกลับไป การตีลูกเช่นนี้จะต้องจับไม้แร็กเกตให้แน่นข้อมือล็อค (Firm Wrist) ตั้งหน้าไม้ให้ได้มุม ใช้แรงส่งจากหัวไหล่ และข้อมือโดยเสริมแรงจากเท้าและสะโพกลำตัว ตีกระทบฝาผนังด้วยแรงสม่ำเสมอลักษณะผลักลูกบอล(Push Stroke) ลูกบอลก็จะวิ่งกลับไปมา การส่งแรงกระแทกตีลูกบอลขณะที่ลูกกลับมาแรงเป็นการยากที่จะบังคับลูกบอลในการตีโต้ตอบกลับไปยังแดนของคู่ต่อสู้ลูกบอลอาจกระดอนออกนอกพื้นโต๊ะสนาม

5.การกำหนดแรงตีลูกบอลจากลูกกระดอนลูกบอลที่เคลื่อนไหวไปมานั้นจะมีแรงแฝงอยู่จะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแรงที่ตี คุณสมบัติของแผ่นยางหรือไม้แร็กเกตตลอดจนพื้นผิวเนื้อไม้ขแงโต๊ะสนาม ดังนั้นการส่งแรงปะทะเพื่อตีกบอล บังคับวิถีลูกบอลจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะถ้าใช้แรงมากเกินไปลูกบอลก็จะกระดอนออกนอกโต๊ะสนาม ตีเบาไปลูกบอลก็อาจติดตาข่าย แรงที่ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่กระดอนข้ามมาผู้เล่นจะต้องใช้ช้สายตาคาดคะเนเอาประมาณการรับรู้ เกิดขึ้นจากการฝึกหัดสังเกตประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่อย่างไรก็ดีหลักที่ต้องพิจารณา คือ มุมตกจะเท่ากับมุมสะท้อน แรงตกกระทบเท่ากับแรงสะท้อน

6.โมเมนตัมของการเหวี่ยงตีปะทะและจุดปะทะของหน้าไม้แร็กเกต(Momentum and Sweet Spot of Racket)ขนาด รูปร่าง และน้ำหนักของไม้แร็กเกต รวมถึงแผ่นยางชนิดต่างๆ มีความเกี่ยวพันกับโมเมนตัมของแรงที่ส่งผลต่อการกระดอนของลูกบอล วิถีและทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกบอล จุดปะทะของหน้าไม้แร็กเกตกับลูกบอลในการกระดอนกลับตามแนวแรงที่ส่งกระทบต่างกัน แรงสะท้อนกลับ ณ จุดศูนย์กลางและการบังคับทิศทางของลูกบอลย่อมดีกว่าตำแหน่งที่ขอบหน้าไม้แร็กเกต

7.มุมของหน้าไม้แร็กเกตที่ปะทะสัมผัสผิวของลูกบอล(Bat Angle)แนวแรงที่สัมผัสและกระทำต่อผิวของลูกบอลรวมถึงความเร็วในการสัมผัสทำให้ความกดดันของอากาศรอบผิวลูกบอลแตกต่างกัน ทำให้เกิดการหมุน การหมุนของลูกบอลนี้เองมีผลทำให้แนวแรงเปลี่ยนไปในขณะที่ลูกบอลตกกระทบและทำให้มุมสะท้อนไม่เป็นไปตามทฤษฎีที่มุมตกเท่ากับมุมสะท้อนดังกล่าว

การจัดหน้าไม้แร็กเกตเพื่อตีกระทบลูกบอลนับว่ามีส่วนสำคัญที่จะทำให้ทักษะท่าทาง ตลอดจนการบังคับทิศทางของลูกบอล ตามหลักทฤษฎีที่ว่ามุมตกกระทบเท่ากันกับมุมสะท้อนกลับ การใช้หน้าไม้ตีกระทบลูกบอลมุมลักษณะของหน้าไม้ขณะที่ลูกบอลกระทบ สามารถทำให้ลูกบอลวิ่งไปในทิศทางแตกต่างกันดังนี้

1.หน้าไม้ตั้งฉากตรง(Verticle Planned) ซึ่งจะทำให้ลูกบอลสะท้อนกลับทางเดิม

2.หน้าไม้เปิดหงายขึ้น(Opened) มุมเปิดเป็นมุมป้าน ทำให้ทิศทางการสะท้อนกลับของลูกพุ่งลอยสูงขึ้น

3.หน้าไม้คว่ำลง(Closed) มุมเปิดเป็นมุมแหลม เพื่อบังคับให้ลูกบอลพุ่งต่ำลงและเร็ว

4.หัวไม้ด้านนอกเปิด แนวของหน้าไม้ตั้งฉาก แต่หัวไม้แร็กเกตเปิดทำมุมกับแนวข้างลำตัว ขณะลูกบอลกระทบ จะทำให้ทิศทางของลูกบอลสะท้อนออกทางด้านข้างในมุมเปิด

5.หัวไม้ล้ำหน้า นั่นคือตรงกันข้ามกับหัวไม้ด้านนอกเปิด จะทำให้ลูกบอลพุ่งเฉียงออกทางด้านตรงข้ามกับไม้ถือ